วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประวัติพันท้ายนรสิงห์

ประวัติพันท้ายนรสิงห์ ผู้รักษากฎระเบียบ กฎมณเฑียรบาล ยิ่งกว่าชีวิตตน

ประวัติ

พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) ได้รับ ยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีและรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต
เรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ปรากฏ อยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับต่างๆ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ.๒๒๔๖ - ๒๒๕๒ สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่๘ ประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ด ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย มีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย พันท้ายนรสิงห์เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองอ่างทอง การเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรีในครั้งนี้ เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขามคลองบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัดระวังแต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ

พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่า ความผิดครั้งนี้ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณี ซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหัก ผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสียจึงกราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตามพระราชประเพณี สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ ทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสุดวิสัยมิใช่ความประมาท จึงพระราชทานอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมยืนยันขอให้ตัดศรีษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมาย เป็นการป้องกันมิให้ผู้ใดครหาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวได้ว่าทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดินและเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป พระองค์ทรงโปรดให้ฝีพายทั้งปวงปั้นมูลดินเป็นรูปพันท้ายนรสิงห์ แล้วให้ตัดศีรษะรูปดินนั้นเพื่อเป็นการทดแทนกัน แต่พันท้ายนรสิงห์ยังบังคมกราบทูลยืนยันขอให้ประหารตน

แม้สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ จะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใดก็ทรงจำพระทัยปฎิบัติตามพระราชกำหนด ดำรัสสั่งให้เพชฌฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์แล้วโปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตา นำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชยซึ่งหักนั้น ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล แล้วทรงพระราชดำริว่าคลองโคกขามคดเคี้ยวนักไม่สะดวกต่อการเดินเรือ บางครั้งชาวเมืองต้องเดินเรืออ้อมเป็นที่ลำบากยิ่ง สมควรจะขุดลัดตัดตรง เมื่อขุดเสร็จจึงได้รับพระราชทานนามว่า "คลองสนามไชย" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "คลองมหาชัย"ทั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงพันท้ายนรสิงห์ข้าหลวงเดิมซึ่งเป็นคนซื่อสัตย์ มั่นคง ยอมเสียสละชีวิตโดยไม่ยอมเสียพระราชประเพณี กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้น อยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงไม่มากนัก โดยกันอาณาบริเวณรอบๆ ศาลไว้


http://www.youtube.com/v/u5RCxvfPSCE

ศาลพันท้ายนรสิงห์

แห่งความซื่อสัตย์ รักษากฎระเบียบ กฎมณเฑียรบาลยิ่งกว่าชีวิตตน ตั้งอยู่ที่ บ้านพันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

เรื่องจากพระราชพงศาวดาร

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เรื่อง พันท้ายนรสิงห์ เมื่อปี พ.ศ. 2247 สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกชัย จะไปประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำ เมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ ซึ่งถือท้ายเรือ พระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้ว กราบทูลให้ทรงลงพระอาญา ตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในสองครั้งแรก สมเด็จพระเจ้าเสือทรง พระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุ สุดวิสัย แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นศาลไม้ในสมัยปัจจุบัน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางมน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น 2 ชั้น มีเสารองรับ 6 เสา ฝาไม้ลูกประกนขนาดเล็ก

โบราณสถานของชาติ


ศาลพันท้ายนรสิงห์ถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอนที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2498 กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้น อยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงมาไม่มากนัก โดยกันอาณาบริเวณรอบๆ ศาลไว้ประมาณ 100 ไร่ เพื่อจัดตั้งเป็น "อุทยานพันท้ายนรสิงห์" ภายในศาลมีรูปปั้นของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าของจริงในท่าถือท้ายคัดเรือ

สำหรับพันท้ายนรสิงห์ มีนามเดิมว่า สิงห์ แต่ก่อนท่านก็เป็นนักมวยที่เก่งมากและก็เคยขึ้นชกกับพระเจ้าเสือมาแล้ว แต่ว่าเสมอกัน พระเจ้าเสอรู้สึกประทับใจจึงให้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก แล้วเลื่อนขึ้นมาเป็นราชองครักษ์

เรื่องราวของพันท้ายปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุศรีอยุธยาฉบับต่างๆ เนื้อความเป็นไปในแบบเดียวกัน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ.๒๒๔๗ สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่๘ ประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ด ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย มีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย ตามหลักฐานชุมนุมพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ว่า พันท้ายนรสิงห์เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองอ่างทอง และเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ จนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชกาลรับใช้พระองค์อย่างใกล้ชิด

คือความจงรักภักดีของพันท้ายนรสิงห์ท้ายนรสิงห์ที่มีต่อเจ้าเหนือหัวและความซื่อสัตย์ ที่มีต่อกฎหมายบ้านเมือง ยอมตาย.....เพื่อมิให้กฎหมายบ้านเมืองคลายความศักดิ์สิทธิ์

สมัยของพันท้ายนรสิงห์ถูกประหาร ตรงกับช่วงที่ขุนนางเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นชาวพม่าที่กษัตริย์อังวะส่งมาปกครองขัดผลประโยชน์กับข้าหลวงเมืองเชียงแสน ทำให้เกิดการแบ่งกันว่าเมื่อเก็บภาษีได้เท่าใดในแต่ละเมืองก็จะแยกกันส่ง บรรณาการก็แยกกันเด็ดขาด ทำให้ล้านนาแตกออกเป็น 2 เสี่ยง ... เชียงแสนจึงกลายเป็นฐานที่มั่นของพม่ามาจนถึงปี พ.ศ.2447(ตรงกับ ร.1 แห่งกรุงสยามและ พระเจ้ากาวิละแห่งอภินวบุรีฯเชียงใหม่)... เชียงแสนกับเชียงใหม่จึงรบกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (ดูเพิ่มในคร่าวเมืองเชียงแสนแตก)

ส่วนทางด้านเมืองน่านนั้น พญาน่าน 3 คนพี่น้องขอกำลังลาวเวียงจันท์ขึ้นมาฟื้นม่าน แต่ถูกกองทัพพม่าปราบได้ ปรากฏในพื้นเมืองน่านว่าพม่าเข้าเผาเมือง แม้กระทั่งคนที่อยู่ในวัดยังถูกฆ่าด้วย เหตุการณ์นี้นำไปสู่การสิ้นสุดระบบการปกครองเมืองน่านที่มีชาวพื้นเมืองปกครองและมีข้าหลวงกำกับ(เหมือนเชียงแสน)..... พม่าได้ส่งคนของพวกตนเข้ามาปกครองแทน.... จึงเป็นที่มาของ ราชวงศ์หลวงติน (อ่านว่า ติ๋น) เมื่อพญาตินหลวงจากเชียงใหม่มาปกครองเมืองน่าน... จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าฟ้าอัทธวรปัญโญสวามิภักดิ์สยาม เมืองน่านจึงเป็นประเทศราชของสยามนับแต่นั้น และราชวงศ์หลวงตินสิ้นสุดลงเมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดาพิราลัยนั่นเอง

ภรรยาขององค์พันท้ายนรสิง คือแม่สีนวล แม่สีนวลไม่ทราบมาก่อนครั้นพอแม่นวลทราบก้ไปไม่ทันเสียแล้ว...แม่นวลร้องให้น้ำตาเป็นสายเลือด..ทรงเสียใจ..และยังทรงเฝ้ารอพันท้ายนรสิงห์อยู่ริมคลอง..ได้แต่พูดว่าไปไม่ลา.................

อ้างอิง
http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=15654.0